ความเป็นมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เริ่มต้นจากการเป็นส่วนหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นสูง (Higher Education Institution) 3 แห่ง ที่จัดตั้งขึ้นในจังหวัดต่างๆ ในภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2515 โดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ริเริ่มผลักดันให้สถาปนาขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต บุรีรัมย์ และลำปาง ด้วยวัตถุประสงค์เชิงซ้อน 4 ประการ คือ
1) เพื่อผลิตครู และส่งเสริมวิทยฐานะครูประจำการ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครูที่มีคุณภาพ และวุฒิทางครูอย่างรุนแรงในยุคนั้น ตามนโยบายยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติและการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือของประชาชนในประเทศ (Literacy Campaign) ที่เน้นการลดจำนวนผู้ไม่รู้หนังสือของประชาชนทั่วไป
2) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนในท้องถิ่นชนบท ด้วยการลดต้นทุนทางการศึกษาในภาคประชาชนให้กับชาวชนบทห่างไกล ลดภาระในการเดินทางเพื่อรับการศึกษาสำหรับนักเรียนต่างจังหวัด และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้กับเด็กเรียนดี ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ ในชนบทตามแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืน
3) เพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนครูเรื้อรัง ในโรงเรียนในท้องถิ่นชนบทห่างไกลบางแห่ง เนื่องจากคนในท้องถิ่นห่างไกลไม่มีโอกาสเรียนครู และผู้ที่เรียนครูซึ่งมาจากท้องถิ่นอื่นที่มีความสะดวกสบายกว่า ไม่ประสงค์ที่จะเป็นครูในโรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารและห่างไกล
4) เพื่อกระจายนักวิชาการและผู้มีความรู้ความสามารถระดับสูงจากส่วนกลาง โดยเฉพาะกรุงเทพมหานครออกไปประจำต่างจังหวัด เพื่อให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่ชาวชนบทในการประกอบการงานอาชีพ อันเป็นการเสริมสร้างรากฐานในการพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม
โดยสามารถแบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ จาก วิทยาลัยครูภูเก็ต สถาบันราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต สรุปดังนี้
ระยะที่ 1 วิทยาลัยครูภูเก็ต (พ.ศ.2514-2535)
พ.ศ.25 14 วิทยาลัยครูภูเก็ต ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ซึ่งตรงกับพระราชพิธีรัชดาภิเษก และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวิทยาลัยครูภูเก็ตเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2514 ทำการเปิดสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษากับประกาศนียบัตรวิชาการชั้นสูง และจัดการอบรมเพื่อส่งเสริมวิทยฐานะครูประจำการ ตามหลักสูตรครูมัธยม (พ.ม.) พ.ศ. 2518 เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูภูเก็ตจึงได้ทำการเปิดสอนระดับปริญญาในสาขาวิชาการศึกษา ใช้ชื่อปริญญาครุศาสตรบัณฑิต ในแขนงวิชาเอกต่าง ๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยมีนายฉลอง ภิรมย์รัตน์ เป็นอธิการคนแรก และพ.ศ.2527 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2527 วิทยาลัยครูภูเก็ตจึงได้ปรับเปลี่ยนระบบการจัดการศึกษาจากเดิม โดยเปิดสอนตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี ในสาขาวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และบริหารธุรกิจ เพิ่มเติมจากสาขาครุศาสตร์
ระยะที่ 2 สถาบันราชภัฏภูเก็ต (พ.ศ.2535-2547)
พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูใหม่ว่า สถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูภูเก็ต จึงได้เปลี่ยนสถานะเป็น สถาบันราชภัฏภูเก็ตเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ให้การศึกษาและวิชาชีพชั้นสูงได้หลายสาขาวิชา จนถึงระดับปริญญาเอก
พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามวิทยาลัยครูใหม่ว่า สถาบันราชภัฏ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 วิทยาลัยครูภูเก็ต จึงได้เปลี่ยนสถานะเป็น สถาบันราชภัฏภูเก็ตเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ให้การศึกษาและวิชาชีพชั้นสูงได้หลายสาขาวิชา จนถึงระดับปริญญาเอก
ระยะที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (พ.ศ.2547-ปัจจุบัน)
พ.ศ.2547 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 จึงเปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2547 เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจหลักตามความในมาตรา 7 คือ เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูหลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยีทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครู และส่งเสริมวิทยฐานะครู
พ.ศ.2547 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 จึงเปลี่ยนสถานะเป็น มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2547 เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีภารกิจหลักตามความในมาตรา 7 คือ เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูหลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยีทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครู และส่งเสริมวิทยฐานะครู
ต่อมาในปี พ.ศ.2562 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2562 ส่งผลให้มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เป็นสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2562 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ.2564 ได้มีการประกาศใช้ กฎกระทรวงการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2564 และในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ประกาศให้ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต สังกัดกลุ่มที่ 3 กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น (Area-based and Community Engagement) "สถาบันอุดมศึกษาที่มีพันธกิจและยุทธศาสตร์มุ่งสู่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและชุมชนที่มีวัตถุประสงค์หรือประโยชน์ร่วมกัน การเป็นแหล่งเรียนรู้ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และการให้ประชาชนมีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิตอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน