นโยบาย Cookie

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้ (Cookies) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการแก่ท่าน การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายที่แจ้งในเบื้องต้น

เมนู

อาจารย์ ม.ราชภัฏภูเก็ต แนะสร้าง “นักศิลปะการแสดง” แก้ปัญหาธุรกิจโชว์ขาดแคลนแรงงานหลังฟื้นตัวจากโควิด

  • ก.ค. 07, 2566
  • 224
0
 
อาจารย์ศิลปะการจัดการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ชี้สถานประกอบการโรงละครในภูเก็ตและภาคธุรกิจการท่องเที่ยวฟื้นตัว ส่งผลเกิดความต้องการนักแสดงจำนวนมาก แนะวิธีการแก้ปัญหาระยะสั้นโดยการฝึกฝนนักเรียน-นักศึกษา รับงานพาร์ทไทม์การแสดงควบคู่กับการเรียน
 
0 1
 
จังหวัดภูเก็ตมีโรงละครมากที่สุดในประเทศไทย (จำนวน 8 แห่ง) และมีธุรกิจการแสดงที่เป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่สเกลระดับชาติ อาทิเช่น ภูเก็ต แฟนตาซี, สยามนิรมิตร, ไซมอนคาบาเร่ต์ และมีธุรกิจใหม่พร้อมเปิดตัว ฯลฯ แต่ในขณะเดียวกันจำนวน “นักแสดง” หรืออาชีพที่ถูกขนานนามว่า “เอนเตอร์เทนเนอร์” มีจำนวนไม่เพียงพอ และในขณะนี้เป็นวิชาชีพซึ่งเป็นที่ต้องการอย่างสูง จากภาคธุรกิจ หลังการกลับมาเปิดม่านการแสดงต้อนรับผู้ชมอีกครั้งภายหลังหยุดชะงักจากโควิดหลายปี
 
อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (PKRU) “ผศ.ดร.วิกรม กรุงแก้ว” จากสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ วิชาเอกศิลปะการจัดการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตัวแทนจากภาควิชาการ ซึ่งตลอดระยะเวลากว่าสองทศวรรษ ได้ผลิตนักแสดงและนักจัดการธุรกิจการแสดง เข้าสู่สถานประกอบการในภูเก็ตมาอย่างยาวนาน ได้แสดงทัศนะถึงสถานการณ์ขาด “นักแสดง” ในภาคธุรกิจการจัดการแสดงว่า 
 
0 2
 
0 3
 
S 12763142
 
“อ้างอิงจากงาน Workshop เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการบุคลากร (demand analysis) ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มภาคใต้ ที่จัดโดย ม.ราชภัฏภูเก็ต และ สอวช. เมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา พบว่าภาคธุรกิจการจัดการแสดงในขณะนี้กลับมาเปิดให้บริการและเพิ่มรอบการแสดง อีกทั้งมีการปรับปรุงชุดการแสดงให้มีความทันสมัยเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว อนุมานได้ว่าภาคธุรกิจกลับมาฟื้นประมาณ 50% เทียบกับช่วงก่อนโควิด ส่งผลให้ความต้องการแรงงานในวิชาชีพ ‘นักแสดง’ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งนอกจากโชว์การแสดงในรูปแบบโรงละครแล้ว การแสดงในงานพิธีการของทั้งภาครัฐและเอกชน งานเลี้ยงสังสรรค์ หรืองานด้านศิลปวัฒนธรรม ที่จัดขึ้นโดยโรงแรมหรือบริษัท ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการต่างชาติกว่า 70% เป็นอีกตลาดหนึ่งที่ต้องการแรงงานในกลุ่มนักแสดงจำนวนมาก เนื่องจากเป็นตัวชูโรงที่แสดงถึงวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมร่วมสมัยนำเสนอต่อกลุ่มลูกค้า
 
อ.วิกรม นำเสนอข้อมูลต่ออีกว่า อาชีพการแสดงโชว์ในบริบทของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นอาชีพที่สร้างผลตอบแทนสูง ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นนักแสดงในสถานประกอบการขนาดใหญ่จะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-20,000 บาท ซึ่งเป็นงานที่แสดงช่วงกลางคืน ในขณะเดียวกันนักแสดงสามารถรับงานการแสดงช่วงกลางวันได้อีกงานละ 500-800 บาท ต่องานต่อคน ซึ่งในแต่ละเดือนนักแสดงอาจสามารถรับงานนอกเหนือได้ 10-20 งาน ดังนั้นรายได้เฉลี่ยรวมต่อเดือนของนักแสดงในช่วงการท่องเที่ยวกลับมา จะอยู่ที่ประมาณ 30,000-40,000 บาท จึงกล่าวได้ว่าเป็นอาชีพที่มีรายได้มั่นคง และผู้ประกอบการจะเลือกนักแสดงจากความเป็นมืออาชีพและผลงาน
 
0 6
 
ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ซึ่งได้มีการพัฒนาหลักสูตร “ศิลปะการจัดการแสดง” ตลอดระยะเวลาหลายที่ผ่านมาโดยใช้คีย์เวิร์ดคือ Arts และ Business โดยยึดโยงความต้องการของผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งเป็นเครือข่ายความร่วมมือโดยตรง จากการดึงบัณฑิตที่จบเข้าไปฝึกงานและทำงานหลังเรียนจบทันที ด้วยเล็งเห็นถึงศิลปวัฒนธรรมจะต้องถูกปากลูกค้าและจะต้องนำไปจัดแสดงได้ทุกระดับ เพราะจะช่วยผลักดันให้นักแสดงมีความมั่นคงและเกิดลู่ทางจากทักษะความสามารถที่มหาวิทยาลัยได้บ่มเพาะ
 
อาจารย์การแสดงจาก PKRU กล่าวอีกว่า “สิ่งที่ราชภัฏภูเก็ต สามารถเติมแรงงานในภาคธุรกิจเพื่อทุเลาสภาวะขาดแคลนแรงงานนักแสดงในขณะนี้ คือ สนับสนุนและฝึกฝนให้นักศึกษาศิลปะการจัดการแสดงของเรา ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1-3 มีความพร้อมในการรับงานการแสดงในช่วงวันหยุดหรือนอกเหนือเวลาเรียนร่วมกับรุ่นพี่ที่ศึกษาจบไปแล้ว เพื่อเป็นรายได้เสริมและเป็นการฝึกฝนประสบการณ์จากเวทีจริง อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการอีกทางหนึ่ง ซึ่งจุดเด่นของนักศึกษาการแสดงของเรา จะมีทักษะที่นอกเหนือจากการแสดงทั่ว ๆ ไป คือ เป็นนักออกแบบเครื่องแต่งกายและนักแต่งหน้า สามารถออกแบบท่าการแสดง เป็นผู้กำกับและสร้างสรรค์ชุดการแสดงได้ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ล้วนตอบโจทย์ผู้ประกอบการที่เลือกนักแสดงที่เก่งรอบด้านแบบออลอินวัน” 
 
สำหรับสถานประกอบการที่ต้องการบุคลากรและนักศึกษาด้านศิลปะการจัดการแสดง หรือสร้างความร่วมมือในด้านวิชาการและวิชาชีพ สามารถติดต่อได้ที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต โทร 08 4689 4856
 
S 12763175
 
S 12763146
 
1
 
2 1
 
18
Top